
รู้จักจังหวัดสงขลา
ประวัติจังหวัดสงขลา
"สงขลา"ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณีและการละเล่นพื้นเมืองศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือ ซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อ เมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร
เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียก เมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออก เสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผล หนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการ พระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออก เสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตอนล่างระหว่างละติจูดที่ 617-756 เหนือ ลองจิจูด 100 01-101 06 ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 4 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางรถไฟ 947 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดิน 950 กิโลเมตร จังหวัดสงขลา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี รัฐเคดาห์ และรัฐเปอร์ลิสของประเทศมาเลเซีย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล
ขนาดพื้นที่ จังหวัดสงขลามีขนาดพื้นที่ 7,393,889 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,853,249 ไร่ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 27 ของประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของภาคใต้ รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ลักษณะภูมิศาสตร์และภูมิอากาศจังหวัดสงขลา
จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปีคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ
ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ว่างของลมมรสุมจะเริ่มตั้งแต่หลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนักเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ทะเล
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จังหวัดสงขลาจะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกมากกว่า เนื่องจากพัดผ่านอ่าวไทย ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะถูกเทือกเขาบรรทัดปิดกั้นทำให้ฝนตกน้อยลง
ต้นไม้ ดอกไม้ ประจำจังหวัดสงขลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs.
ชื่อวงศ์ Miliaceae
ชื่อสามัญ สะเดาเทียม
ชื่อทางการค้า -
ชื่อพื้นเมือง เทียม, สะเดาช้าง (ตรัง)
ลักษณะ
ไม้ต้นสูง 30 - 4 เมตร เปลือก เรียบเมื่ออายุยังน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น ใบประกอบเป็นรูปขนนก ก้านใบยาว 20 - 6 เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อย เยื้องสลับกัน เล็กน้อย จำนวน 7 - 1 คู่ แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 5 - 8 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนสอบ ใบสีเขียวอ่อน ดอกออกรวมเป็นช่อ ตามง่ามใบ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลรูปไข่ เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรงมี เมล็ดเดียว ออกดอกเดือนมีนาคม ผลแก่ เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
นิเวศวิทยา
พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไป ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา ประโยชน์ เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบ ทุกส่วน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ดอกอ่อนใช้รับประทานได้ เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือกต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง




ข้อมูลทั่วไป

โครงสร้างองค์กร กลุ่มงานความมั่นคง
_edited_edited.jpg)
บุคลากร
กลุ่มงานการเงินและบัญชี (11 ท่าน) กลุ่มงานปกครอง ( 11 ท่าน)
กลุ่มงานความมั่นคง (3 ท่าน) เลขานุการ ปลัดจังหวัดสงขลา ( 3 ท่าน)
เลขานุการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (นายราชิต สุดพุ่ม) (0 ท่าน) เลขานุการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (นายไพโรจน์ จริตงาม) ( 0 ท่าน)
เลขานุการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (นายศักระ กปิลกาญจน์) (1 ท่าน) ศอ.ปส.จว.สข. ( 1 ท่าน)
หนังสือเดินทาง (บอร์เดอร์พาส) (1 ท่าน) เลขานุการ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ( 0 ท่าน)

contact:
ศาลากลางจังหวัดสงขลา ชั้น4 ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 90000
Email : info@songkhladopa.go.th
Phone : 0-7432-7036,0-7431-1113