top of page

 

ประวัติความเป็นมาของกระทรวงมหาดไทย : History of the Ministry of Interior

ประวัติความเป็นมาของกระทรวงมหาดไทย 

        ลักษณะงานอันเป็นภารกิจของกระทรวงมหาดไทยนั้น มีหลักฐานปรากฎในประวัติศาสตร์การปกครองของไทยมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นปฐมราชธานี เมื่อราว พ.ศ. 1800 มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนในรูป " จตุสดมภ์ "(เมือง วัง คลัง นา) โดยให้กรมเมือง มีหน้าที่ในการปกครองท้องที่  รักษาสันติสุขบังคับบัญชาบรรดาพลเรือน ตราบจนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถราว พ.ศ. 2006 ได้กำหนดให้มีกรมมหาดไทยดูแลบริหารราชการฝ่ายพลเรือนสืบทอดมาจึนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


       การก่อตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี พ.ศ. 2435 กล่าวได้ว่า เป็นการรวบรวมงานมหาดไทยมาอยู่ในที่เดียวกันอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า ในยุคสมัยนั้นระเบียบการปฏิบัติงานต่างๆขาดความชัดเจน งานที่ปฏิบัติก็ยังเหลื่อมซ้อนกันกับหน่วยงานอื่นๆ รวมตลอดจนวิธีการปฏิบัติงานก็ล้าสมัย จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงมีพระราชดำริเป็นยุติให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฟื้นราชการมหาดไทยทั้งกระทรวงเลยทีเดียว

        นับตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จฯ ได้ทรงทำการปรับปรุงงานของกระทรวงมหาดไทยหลายประการอาทิ แก้ไขระเบียบการปฏิบัติงาน ยกเลิกประเพณีที่ให้เจ้าหน้าที่ต้องไปเสนอราชการที่บ้านเสนาบดี เลิกประเพณีที่เสนาบดีเอาตราตำแหน่งไปไว้ที่บ้านกำหนดระเบียบการออกตรวจราชการหัวเมือง ให้มีการจัดสร้างศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ริเริ่มแนวคิดการทำงานของกระทรวงมหาดไทยที่มุ่งเน้นให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขโดยการทำนุบำรุงบ้านเมืองเสียแต่ยามปกติ ไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาเสียก่อนจึงค่อยดำเนินการรวมตลอดจนการจัดตั้งกรมต่างๆขึ้น และรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเดิมกระจายอยู่ถึง ๓ กระทรวงให้มาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเพียงแห่งเดียว เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

        อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมที่ผ่านมาทั้งในด้านการจัดองค์กร วิธีการปฏิบัติงานและตัวบุคลากร ทุกอย่างต้องได้รับการพิจารณาปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนทางสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เกิดขึ้นโดยเป้าหมายของจุดเน้นจะอยู่ที่ประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญภารกิจหลากหลายในความรับผิดชอบต้องมีการ กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน สับสน ทั้งผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วจะเป็นหัวใจของการปฏิบัติงานซึ่งอนาคตนับแต่นี้ไปจะถูกชี้นำด้วยนโยบายและแผนอย่างมีระบบตัวผู้ปฏิบัติหรือบุคลากรของมหาดไทยทุกระดับจะได้รับการพัฒนาทั้ง คุณภาพ ทัศนคติ และ พฤติกรรม ให้เป็นคนรุ่นใหม่ที่  มุ่งทำงานเพื่อประชาชน

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกระทรวงมหาดไทย

อำนาจหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุขการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคมการส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครองการพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่   การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎรความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติกฎหมายอื่น ๆ ประกอบด้วยแล้ว ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ
 
1.ด้านการเมืองการปกครองกระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครองและการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค     ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
2.ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับส่วนราชการต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรการคุ้มครองผู้เช่านา การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน และการชลประทานราษฎร์ เป็นต้น
3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น
4.ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบทการจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง เป็นต้น

 ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย : Administrator of Ministry of Interior  

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา โทร 0-2224-6320 โทร (มท.) 50004                                โทรสาร 0-2226-4371

                                          โทร 0-2224-6341

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

 นายนิพนธ์ บุญญามณี โทร 0-2224-9897 โทร (มท.) 50051-3                                   โทรสาร 0-2221-9091

                                   โทร 0-2221-0192

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

 นายทรงศักดิ์ ทองศรี โทร 0-2221-4201-2 โทร (มท.) 50031-3                                    โทรสาร 0-2222-2855

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 นายอนุชา โมกขะเวส โทร 0-2221-4201 โทร (มท.) 50031-3                                      โทรสาร 0-2221-9091

 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ปลัดกระทรวงมหาดไทย

 นายฉัตรชัย พรหมเลิศ โทร 0-2226-4372, 08-1174-3940โทร (มท) 50200              โทรสาร 0-2226-1966

รองปลัดกระทรวงมหาดไทย   

 นายปวิณ ชำนิประศาสน์ โทร 0 2221 1131, 0 2225 9910, มท 50225-6                     โทรสาร 0 2221 1131

 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม โทร 0 2225 4664, มท 50215-6                                      โทรสาร 0 2221 1887

 นายพรพจน์ เพ็ญพาส โทร 0 2222 4821, มท 50235-6                                             โทรสาร 0 2225 9199

 นายสมคิด จันทมฤก โทร 0 2221 1132, มท 50220-1                                                  โทรสาร 0 2221 6851

ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ

 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์  โทร 0-2225-9908 โทร (มท.) 50751

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง

 -  โทร 0-2221-4816 โทร (มท.) 50757

ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

 นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์  โทร 0-2221-4816 โทร (มท.) 50162

ที่ปรึกษาด้านการปกครอง

 -   โทร 0-2224-6320  โทร (มท.) 50004

พันธกิจ

1. กำกับดูแล จัดระบบการบริหารการปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งส่งเสริม การเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

  

 2. รักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายใน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ

  

 3. อำนวยความเป็นธรรมและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่

  

 4. ส่งเสริมการพัฒนาเมือง โครงสร้างกายภาพ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  

 5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและแก้ไข ปัญหาตาม แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  

 6. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  

 7. ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการบริหารและพัฒนาประเทศ

contact:

bottom of page